การสืบราชสกุล ณ เชียงใหม่ ของ เจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่)

พลตรี เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) มีฐานะเป็นผู้สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า สืบตระกูลจากพระบิดาคือ พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2471

การถวายความจงรักภักดี

เจ้าราชบุตร ได้รับการศึกษาที่กรุงเทพมหานคร และได้รับพระราชทานการศึกษาอบรมจากราชสำนัก ตั้งแต่รัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เจ้าราชบุตร ก็ยังแสดงออกถึงความจงรักภักดี และมีความใกล้ชิดกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 9[2]

  • เจ้าราชบุตร ได้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมกระบวนม้าและช้างไปรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในการเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ โดยไปรับเสด็จตั้งแต่เมืองแพร่ ถึงเมืองเชียงใหม่
  • เจ้าราชบุตร เป็นแม่กองสร้างโรงช้าง ในปี พ.ศ. 2469 เพื่อประกอบพิธีสมโภชช้าง "พระเศวตคชเดชน์ดิลก" และเป็นผู้ทรงช้างองค์ที่ 7 ในจำนวน 13 องค์ เพื่อนำเสด็จโดยช้างพระที่นั่ง
พระเศวตคชเดชน์ดิลกฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่
  • เจ้าราชบุตร ได้เข้าร่วมรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระอนุชา ในคราวเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรก
  • เจ้าราชบุตร ได้เข้าร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2493พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง เพื่อถวายความจงรักภักดีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเมืองประเทศราชในอดีต [9]
  • เจ้าราชบุตร ได้เฝ้าถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อย่างสม่ำเสมอ ทั้งที่สนามบินเชียงใหม่และที่อื่นๆ และในปี พ.ศ. 2501 ได้เฝ้ารับเสด็จในพระราชวโรกาสเสด็จเยี่ยมราษฎร และเป็นประธานจัดบายศรีสู่ขวัญ ในพิธีทูลพระขวัญถวายที่หน้าโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ในคราวนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้เสด็จเสวยพระกระยาหารที่คุ้มวงศ์ตวันด้วย[2] นอกจากนั้นได้มีโอกาสเฝ้ารับเสด็จ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์

การได้รับพระมหากรุณาธิคุณ

ครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จไปเสวยพระกระยาหารที่คุ้มวงศ์ตวัน ของเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) และฉายพระรูปร่วมกับเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายเป็นการส่วนพระองค์[10] ในครานั้นเองทรงรับสั่งว่า “ถึงแม้บ้านเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรให้สามัคคีกัน ให้รวมกลุ่มกันรักษาความดีไว้ ในฐานะทายาทผู้ครองนคร”

เมื่อครั้งที่เจ้าราชบุตร ได้เดินทางไปผ่าตัดต้อกระจกที่กรุงเทพมหานคร ได้รับพระราชทานกระเช้าดอกไม้ และคราวที่ไปผ่าตัดช่องท้อง ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเอาพระราชหฤทัยใส่ และโปรดเกล้าฯ ให้นายแพทย์เอาใจใส่เป็นพิเศษ รวมทั้งให้พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร นำกระเช้าดอกไม้พระราชทานไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล

ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2514 ในพระราชวโรกาสเสด็จแปรพระราชฐาน มาประทับที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี นำแจกันดอกไม้พระราชทานแก่เจ้าราชบุตร นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณครั้งสุดท้ายในขณะที่เจ้าราชบุตรยังมีชีวิตอยู่

การส่งเสริมความเข้าใจและสร้างเกียรติคุณของประเทศ

เจ้าราชบุตรได้มีบทบาทสำคัญในการต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ โดยเป็นผู้ออกทุนทรัพย์ส่วนตัว[2] เช่น

กิจกรรมสาธารณประโยชน์

เจ้าราชบุตร ได้สนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในด้านต่างๆ อาทิ การบริจาตสมทบมูลนิธิเพื่อการศึกษา การบริจาคทรัพย์เพื่อบำรุงศาสนา การสนับสนุนการแพทย์ สมทบทุนกิจกรรมกาชาด ฯลฯ โดยมีอนุสรณ์ที่แสดงถึงกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของเจ้าราชบุตร ได้แก่ กุฏิวัดเจดีย์หลวงที่สร้างอุทิศถวายเจ้าแก้วนวรัฐ และแม่เจ้าจามรีวงศ์ รวมถึงอาคารเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) ซึ่งเป็นตึกโคโบลท์ ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) http://www.thainews70.com/news/news-culture-arnu/v... http://www.lannacorner.net/lanna2012/article/artic... http://lib.payap.ac.th/webin/ntic/Homepage/webdocu... http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/king/ra... http://www.senate.go.th/inforcenter/documents/list... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2466/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2471/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/D/...